แมวเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังต้องดูแลอย่างไร ให้อาหารแบบไหนจึงจะเหมาะสม
โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นในแมวมีด้วยกันหลากหลายสาเหตุ เพราะเชื้อที่ติดอยู่บนผิวหนังจะมีทั้งเชื้อรา, เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอีกหลายชนิด รวมไปถึงโรคผิวหนังที่เกิดจากปรสิตและอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้ผิวหนังของแมวได้รับความเสียหาย แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรงที่จะถึงแก่ชีวิต แต่ก็สร้างความลำบากและความรำคาญให้แมวของคุณได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งถ้าแมวของคุณกำลังเผชิญปัญหาโรคผิวหนังอยู่ สามารถศึกษารายละเอียดของโรคต่อได้จากภายในบทความนี้
สิ่งที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับแมวที่เป็นโรคผิวหนัง
การเกิดโรคผิวหนังภายในแมวจะมีด้วยกันหลายประเภท เพราะการติดเชื้อจนกลายมาเป็นการสร้างความเสียหายต่อทั้งขนและผิวหนัง ซึ่งมักจะเกิดกับแมวที่มีสุขภาพผิวไม่ดีหรือแมวที่ใช้ชีวิตนอกบ้าน แล้วเสี่ยงต่อการนำเชื้อต่าง ๆ ติดขนตามมา รวมไปถึงการอยู่อาศัยในพื้นที่ไม่สะอาดและแมวบางแสนพันธุ์ก็อาจมีปัญหาโรคผิวหนังเฉพาะ เนื่องมาจากขนที่ยาวผิดปกติ ทั้งยังบ่งบอกได้ถึงการเป็นโรคอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งโรคผิวหนังที่สามารถพบได้บ่อยภายในแมวจะมีด้วยกัน 4 ประเภท คือ
1.เชื้อรา
ปัญหาเชื้อราบนผิวหนังของแมวจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เชื้อรากลุ่มยีสต์และเชื้อรากลุ่มกลาก ซึ่งเชื้อในกลุ่มยีสต์นั้นจะพบได้บ่อยครั้งที่สุดบนผิวของแมว สามารถเกิดได้ทั้งจากโรคภูมิแพ้ผิวหนัง เมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายของแมวลดต่ำลง ความผิดปกติของการทำงานภายในฮอร์โมน ความผิดปกติจากการติดเชื้อไวรัส Malassezia pachydermatis และเชื้อ Candida spp จึงทำให้ผิวมีอาการอักเสบ บวมแดง และเป็นสะเก็ด ซึ่งเชื้อตัวนี้จะติดต่อสู่แมวด้วยกันและติดต่อสู่มนุษย์อีกด้วย ส่วนกลุ่มของอาการกลากหรือที่เรียกว่า Ring Worm จะมีลักษณะขึ้นมาเป็นดวง มีสีแดง และทำให้ขนร่วง มีสะเก็ดคล้ายแผลปกคลุมอยู่และสามารถติดสู่คนได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการรักษานั้นจะต้องใช้ยาทาเฉพาะอย่างต่อเนื่อง จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นหรือพาแมวมารับวัคซีนก็จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ดี
2.เชื้อแบคทีเรีย
กลุ่มโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะพบได้มากในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่นอน, ภาชนะใส่อาหาร, ของเล่น และของใช้ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยจะมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม แต่ที่เด่นที่สุด คือ กลุ่มของเชื้อ Staphylococcus, Coagulase-negative Staphylococci และ Micrococcus เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาผิวหนังจากเชื้อของกลุ่มแบคทีเรียเหล่านี้ คุณจำเป็นที่จะต้องพาแมวไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับยามาใช้ให้เหมาะสมต่อเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังสามารถพบเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปากของแมวได้อีกด้วย ซึ่งการแสดงอาการนั้นจะแสดงออกในรูปแบบของการคันและการระคายเคือง แมวจะเกาหรือกัดบริเวณที่คันจนเป็นแผลและอาจจะทำให้เกิดปัญหาการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น
3.เชื้อจากปรสิต
เชื้อที่มาจากปรสิต คือ เห็บและหมัด แต่สำหรับแมวแล้วมักจะมีปัญหาเรื่องหมัดแมวเป็นหลัก ซึ่งหมัดแมวจะค่อนข้างตัวเล็กและวิ่งเร็ว จึงทำให้การกำจัดเป็นไปได้ยากกว่าหมัดของน้องหมา แต่ไม่ว่าจะเป็นมัดของสัตว์เลี้ยงประเภทใดก็ตาม ต่างก็ทิ้งปัญหาเรื่องอาการคันและอาการของโรคผิวหนัง ที่จะทำให้ขนหลุดร่วงง่าย ซึ่งน้ำลายหมัดจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เกิดอาการคัน และทำให้สูญเสียเลือดในแมวมากขึ้น ทั้งยังทำให้แมวเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิได้อีกด้วย
4.ภาวะภูมิแพ้
สำหรับแมวที่เป็นภูมิแพ้สามารถเกิดอาการโรคผิวหนังจากภาวะของภูมิแพ้ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเกิดได้จากหลายปัจจัย แม้กระทั่งภาชนะที่ใส่อาหารก็อาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่อแมวได้ด้วยเช่นกัน แต่รูปแบบการเกิดภูมิแพ้ผิวหนังจะมีอาการบวมร่วมด้วย โดยจะคันช่วงบริเวณอุ้งเท้า, รอบตา, รอบปาก, หน้าท้อง, ใต้คาง และรักแร้ เป็นต้น มาพร้อมกับสะเก็ดแผลหรือมีลักษณะคล้ายกับรังแคและมีอาการบวมตามจุดต่าง ๆ ที่คัน ซึ่งถ้ารักษาอย่างถูกจุดก็จะหายเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว
แมวเป็นโรคผิวหนังเกิดจากอะไร?
สำหรับโรคผิวหนังในแมวนั้น มีปัจจัยที่แตกต่างกันออกไปหลายด้าน โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังจะมีดังต่อไปนี้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่มีความผิดปกติอย่างรวดเร็ว
- แมวมีภาวะของสุขภาพผิวหนังไม่ดีมาอยู่แล้ว
- เกิดอาการโรคภูมิแพ้หรือเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันแมวต่ำลง
- มีการติดเชื้อแบคทีเรียบางประเภทบนขนและผิวหนัง
- เจ้าของแมวไม่ค่อยรักษาความสะอาดของพื้นที่อยู่อาศัย แมวจึงติดเชื้อได้ง่าย
- ติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมรอบด้าน เช่น ที่นอน, ของเล่น, ของใช้, เสื้อผ้า และกระบะทราย เป็นต้น
- การเป็นโรคแทรกซ้อนจากโรคอื่น
- ติดเชื้อปรสิตจากภายนอกบ้านอย่างหมัดแมว
- แมวบางสายพันธุ์มีปัญหาเรื่องผิวหนังมาโดยเฉพาะ
- เกิดปัญหาโรคเรื้อนหรือไรที่ติดต่อมาจากแมวด้วยกัน
อาการของโรคผิวหนังในแมว
อาการของโรคผิวหนังในแมวจะแสดงออกมาคล้ายคลึงกัน คือ อาการคันและเกา แต่ก็มีบางอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้
- มีอาการตื่นตัวตลอดเวลา เพราะรู้สึกคันผิวหนังจนต้องเกาทั้งวัน
- ปรากฏเป็นจุดสีแดงและมีสะเก็ดคล้ายรังแคอย่างเห็นได้ชัด
- ขนร่วงเป็นจำนวนมาก
- อาการของโรคจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของเชื้อที่แมวติดมา ถ้าอาการหนักขึ้นจะมีตุ่มผื่นหรือหนองได้
- ถ้าเป็นการติดเชื้อจากหมัดแมว จะทำให้แมวลุกขึ้นมาเกาและกัดขนตามส่วนต่าง ๆ ที่มีหมัดแมวอยู่ตลอดเวลา
- มีอาการเกาที่ใบหูเพราะเกิดจากไรหู
- ถ้าอาการหนักขึ้นอาจทำให้แมวซึมลงและไม่ยอม กินอาหาร
แมวเป็นโรคผิวหนัง ควรดูแลอย่างไร
ถ้าคุณตรวจพบว่าแมวเป็นโรคผิวหนังจริง การดูแลถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการดูแลแมวที่มีอาการโรคผิวหนังควรทำดังนี้
- ทำความสะอาดขนและผิวแมวด้วยการอาบน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- เลือกใช้แชมพูหรือน้ำยาอาบน้ำสูตรยา เพื่อฆ่าเชื้อโรคและหมัดแมว
- หลังการอาบน้ำ ควรรีบเป่าขนให้แห้งทันที เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
- ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยของแมวทุกจุดและลงน้ำยาฆ่าเชื้อเสมอ เพื่อลดการติดเชื้อ
- ถ้าพาไปพบสัตวแพทย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรใช้ทั้งยาทาและยากินให้ตรงตามที่สัตวแพทย์สั่งไว้
- ควรเลี้ยงแบบระบบปิด ไม่ควรให้แมวออกนอกบ้านเด็ดขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม
อาหารที่เหมาะสำหรับแมวที่เป็นโรคผิวหนัง เป็นอาหารแบบไหน ให้อาหารอะไรได้บ้าง
อาหารถือว่ามีส่วนสำคัญต่อแมวที่เป็นโรคผิวหนังด้วยเช่นกัน เพราะถ้าได้รับอาหารอย่างถูกต้อง ย่อมทำให้บรรเทาอาการ ของโรคได้ดีและยังช่วยเสริมให้การรักษาเป็นไปอย่างได้ผลดี ซึ่งอาหารที่เหมาะสมสำหรับแมวเป็นโรคผิวหนัง คือ
1.อาหารสูตรเฉพาะ
อาหารสูตรเฉพาะสำหรับแมวเป็นโรคผิวหนัง จะถูกระบุว่าเป็น Skinfood sensitive เพื่อการฟื้นฟูขนและผิวหนังโดยเฉพาะ ทั้งยังเหมาะสำหรับแมวที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย โดยจะเป็นอาหารที่ถูกทำขึ้นมาด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง เพิ่มเติมระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ย่อยสลายได้ง่ายและช่วยทำให้ระบบขับถ่ายเป็นอย่างคล่องตัว โดยการเสริมไฟเบอร์และกรดตามธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ มีการจำกัดทั้งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตอย่างเหมาะสม ซึ่งโปรตีนนั้นเลือกใช้เป็นโปรตีน Hidrolite เสริมด้วยวิตามินและหลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างกลูเตน แลคโตส และโปรตีนถั่วเหลือง รวมไปถึงสารกันบูด ทั้งยังเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ มีให้เลือกทั้งแบบอาหารเม็ดและอาหารเปียก ที่คุณจะสามารถเลือกซื้อได้เหมาะสมต่อความชื่นชอบของน้องแมว
2.อาหารสำหรับแมวเป็นภูมิแพ้
หนึ่งในอาหารที่จะใช้ร่วมกับการรักษาแมวที่เป็นโรคผิวหนัง คือ อาหารลดอาการภูมิแพ้ผิวหนัง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาหารแบบ Organic และมีการจำกัดเรื่องของสารอาหารจำเป็นต่าง ๆ เพิ่มโปรตีนและพลังงานให้กับร่างกาย พร้อมเป็นตัวช่วยลดอาการระคายเคือง เลือกใช้เป็นไฟเบอร์หรือเซลลูโลสจากธรรมชาติ พร้อมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ และน้ำมันจากธรรมชาติ เพื่อเสริมให้ภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถต้านเชื้อต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีอาหารแบบผสมสมุนไพรที่ช่วยทำให้การขับถ่ายของเสียภายในร่างกายแมวได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งยังบำรุงให้ผิวแข็งแรงและขนชุ่มชื้นเงางามอีกด้วย
3.อาหารปรุงเอง
ถ้าคุณเลือกเป็นอาหารปรุงเอง ควรจำกัดเรื่องของโปรตีน, คาร์โบไฮเดรต และสารอาหารอื่น ๆ ให้เหมาะสมต่อแมวของคุณให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการใช้โปรตีนย่อยยากและคาร์โบไฮเดรตที่มากจนเกินไป นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงนม, ไข่ และธัญพืช รวมไปถึงอาหารที่มีทั้งสารแต่งเติมและสีสังเคราะห์ เพราะน้องแมวอาจจะแพ้ได้ทั้งหมด ที่สำคัญคืออาหารเหล่านี้ยังไปกระตุ้นทำให้อาการติดเชื้อผิวหนังรุนแรงมากขึ้นได้อีกด้วย คุณจึงควรเตรียมเป็นเนื้อปลาที่จะช่วยทำให้ย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ง่าย ทั้งยังเลือกใช้สารอาหารจากพืชผักที่ช่วยบำรุงขนกับผิวหนังได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่ควรป้องกัน เพื่อไม่ให้แมวเป็นโรคผิวหนัง
ถ้าคุณไม่ต้องการให้น้องแมวเสี่ยงเป็นโรคผิวหนัง ที่อาจจะติดต่อไปสู่แมวด้วยกันหรือแม้แต่คนเลี้ยง คุณจึงควรใช้วิธีป้องกันดังต่อไปนี้
- พาแมวของคุณไปตรวจสุขภาพและตรวจเพาะเชื้อผิวหนังกับสัตวแพทย์เป็นประจำทุกปี
- ทำความสะอาดที่นอนและพื้นที่อยู่อาศัยของแมวเป็นประจำทุกวัน
- ของใช้แมวทุกชิ้นควรซักล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออยู่เสมอ
- ใช้แชมพูหรือน้ำยาอาบน้ำสำหรับฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในตัวแมวโดยเฉพาะ
- ถ้าแมวมีหมัดให้ใช้แชมพูหรือน้ำยาสูตรขจัดหมัดแมวโดยเฉพาะ
- ใช้น้ำยาสูตรสมุนไพรหมักผิวและขนแมวร่วมกับการอาบน้ำทุกครั้ง
- ควรเลี้ยงแบบระบบปิด เพื่อป้องกันไม่ให้แมวติดเชื้อจากภายนอก
- ติดตามดูผิวของแมวให้ดี ถ้าเกิดเป็นแผลและมีอาการคัน ควรรีบรักษาทันที
- เลือกอาหารสูตรเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับแมวมีปัญหาผิวบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาโรคผิวหนังก่อนจะลุกลามมากขึ้น
แม้ว่าแมวเป็นโรคผิวหนังจะไม่ทำให้เสี่ยงอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่อาการที่เกิดขึ้นจากโรคผิวหนังจะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันมีอุปสรรคและอาจพาให้แมวของคุณติดเชื้อจนมีโรคอื่นแทรกซ้อนขึ้นมาได้ ดังนั้นการดูแลความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ถ้าคุณต้องการให้แมวที่รักมีความสุขและอยู่กับคุณไปได้อย่างยาวนาน ไม่ต้องทนกับโรคผิวหนังที่อาจก่อให้เกิดความรำคาญใจและความเครียดต่อแมวได้ คุณควรพาไปพบสัตวแพทย์ ดูแลเรื่องอาหาร การอยู่อาศัย และทำตามที่ภายในบทความนี้ได้บอกไว้ เพื่อทำให้ทั้งคุณและแมวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ที่คนค้นหาเกี่ยวกับเนื้อหานี้ :
- https://xn--y3cadbvcwdn4cb5b6jl com/เกี่ยวกับ/รีวิว-อาหารแมว-ขนร่วง-รักษาอย่างไรดี/
- https://xn--y3cadbvcwdn4cb5b6jl com/เกี่ยวกับ/แมว-มีอาการ-เกาบ่อย-ทำอย่างไรดี/
- https://xn--y3cadbvcwdn4cb5b6jl com/157/?=โรค/แมวป่วย-โรคผิวหนัง
- https://xn--y3cadbvcwdn4cb5b6jl com/เกี่ยวกับ/รีวิว-อาหารแมว-เหมือนคันตลอด-อาหารยี่ห้อไหนดี/
- https://xn--y3cadbvcwdn4cb5b6jl com/เกี่ยวกับ/รีวิว-อาหารแมว-เป็นจุดสีแดงและมีสะเก็ดคล้ายรังแค-ทำไงดี/