เหมียวๆ มะนุด เราหิวแล้ว

ถ้าคุณต้องการให้เป็นอาหารสดทำเอง คุณควรเลือกให้มีสัดส่วนของโปรตีนสูง, ลดไขมันเสีย, คาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล และโซเดียมลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาหารที่เหมาะสมสำหรับแมวลดน้ำหนัก คือ เนื้อปลาทะเลสด, อกไก่, ไข่ และมันฝรั่ง เป็นต้น

หมอแมวเมียว

Master

วิธีดูแมว ป่วยเป็นโรคไต พร้อมแนะนำอาหารที่เหมาะกับน้อง

แมวเป็นโรคไต ควรให้กินอาหารแบบไหน ดูแลอย่างไรให้น้องแมวอายุยืน

โรคไตถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายของสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะน้องแมวที่มีแนวโน้มในการดื่มน้ำน้อยและกินอาหารที่มีโซเดียมกับไขมันสูงมากจนเกินไป จะยิ่งบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงโรคไตได้มากยิ่งขึ้น ถ้ารักษาทันก็อาจจะยังกลับมาใช้ชีวิตอย่างสดใสได้ตามปกติ แต่ถ้าระดับอาการสูงขึ้นก็เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการดูแลอย่างใกล้ชิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งถ้าคุณไม่อยากให้น้องแมวตัวโปรดต้องจากไปก่อนเวลา ควรศึกษาแนวทางของโรค การรักษา และการดูแล เพื่อยืดอายุให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณได้มากขึ้น

สิ่งที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับแมวที่เป็นโรคไต

ไตเป็นอวัยวะภายใน ทำหน้าที่ในการขับของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ แล้วทำการส่งต่อไปยังระบบการขับถ่ายตามปกติของร่างกาย ซึ่งการขับของเสียต่าง ๆ จะยังคงรักษาสมดุลน้ำหล่อเลี้ยงของอวัยวะไว้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าไตเกิดเสียหายการทำหน้าที่เพื่อขจัดของเสียและสารพิษย่อมมีปัญหาตามไปด้วย เมื่อไตเริ่มเสื่อมสภาพลง การแสดงผลความผิดปกติของร่างกายย่อมเกิดให้เห็นอย่างชัดเจน เพราะเกิดการสะสมของเสียที่ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหายไปด้วย

ดังนั้นแมวที่เป็นโรคไตจะแสดงอาการต่อเมื่อเนื้อไตสูญเสียไปแล้วกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการของโรคแทรกซ้อนและการเสียชีวิตจากไตวายเฉียบพลัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของจำเป็นจะต้องจับตาดูความเปลี่ยนแปลงสัตว์เลี้ยงของคุณอยู่เสมอ เพราะถ้าตรวจสุขภาพแล้วพบว่าเป็นโรคไตตั้งแต่ระยะเริ่มต้น  การรักษาจะเป็นไปอย่างทันท่วงทีและทำให้แมวของคุณกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

แมวเป็นโรคไตเกิดจากอะไร?

โรคไตเป็นโรคที่ร้ายแรงในแมวมากพอสมควร เพราะพบว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว จะพบได้มากสำหรับแมวที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือแมวบางตัวอาจพบตั้งแต่อายุเพียงแค่ไม่กี่ปี โดยเฉพาะแมวที่ไม่ชอบกินน้ำและถูกเลี้ยงมาให้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ เรียกว่ายิ่งอ้วนมากเท่าไหร่ความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะโรคไตก็ยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นเท่านั้น ทั้งยังมีอีกปัจจัยสำคัญคืออายุของแมวที่มากขึ้น นอกจากนี้สายพันธุ์แมวเปอร์เซียและ Angora ยังมีสภาวะเสี่ยงต่อโรคไตที่สูงกว่าแมวสายพันธุ์อื่น ๆ อีกด้วย โดยโรคไตในแมวจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สภาวะด้วยกัน คือ

1.ไตวายเฉียบพลัน

ไตวายเฉียบพลันถือว่าเป็นอาการของภาวะไตวายที่น่ากลัวที่สุด เมื่อเกิดอาการแล้วจะเพิ่มระดับความรุนแรงให้กับโรคไตมากขึ้นเป็นเท่าตัว โดยจะเกิดจากการทำงานของไตที่มีความล้มเหลวแบบเฉียบพลัน จึงทำให้ไตหยุดทำงานและแมวจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ส่วนมากแล้วจะเกิดจากการได้รับสารพิษสะสมเป็นจำนวนมาก หรือการใช้ยาบางประเภทเกินขนาด นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง จึงทำให้การทำงานของกรวยไตหยุดทำงานแบบเฉียบพลัน ทั้งยังอาจเกิดจากภาวะเสียเลือดมากจนเกิดอาการช็อค, อาการเครียดจากการผ่าตัด, ได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ และขาดน้ำเป็นเวลานานได้อีกด้วย

2.ไตวายเรื้อรัง

ถ้าแมวเป็นภาวะไตวายเรื้อรังจะแสดงอาการออกมาน้อย ผู้ที่เป็นเจ้าของจึงอาจไม่รู้ว่าแมวกำลังป่วยด้วยโรคไต โดยอาการเรื้อรังนั้นจะอยู่ภายในตัวแมวเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรืออาจจะหลายปี สาเหตุของการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังเกิดได้จากทั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย, การเกิดเนื้องอกภายในร่างกาย, ไตล้มเหลว, ค่าไตพุ่งขึ้นสูง, การทำงานของไต เกิดความเสียหาย และสภาพเนื้อไตภายในเสียหายไปถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังอาจจะเกิดจากอายุของแมวที่มากขึ้นอีกด้วย  ซึ่งกว่าจะแสดงอาการออกมาให้เจ้าของได้เห็น เนื้อไตก็อาจถูกทำลายไปแล้วเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการรักษาจึงอาจจะทำได้เพียงแค่การประคองอาการและให้ยาอยู่เรื่อย ๆ เพื่อไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและลดความเสี่ยงต่ออาการที่ทรุดหนักลง

อาการของโรคไตในแมว

อาการเบื้องต้นที่จะบ่งชี้ให้คุณได้สังเกตแมวของคุณเองว่าเป็นโรคไตหรือไม่ คือ

  • การกินน้ำมากผิดปกติ จนทำให้ปัสสาวะตลอดทั้งวัน
  • ปัสสาวะออกมาเป็นจำนวนมากต่อครั้งและอาจมีเลือดปน
  • มีอาการเบื่ออาหารติดต่อกันนานหลายวัน
  • กลิ่นปากและลมหายใจเหม็นแรงกว่าปกติ
  • มีแผลในช่องปากบ่อย จนทำให้กินอาหารไม่ได้
  • น้ำหนักลดลงเร็วและซูบผอมอย่างเห็นได้ชัด
  • กินอาหารแล้วไม่อ้วนขึ้น
  • มีอาการอาเจียนบ่อยผิดปกติ
  • มีอาการท้องเสียรุนแรงและถ่ายเหลวตลอดทั้งวัน

แมวเป็นโรคไต ควรดูแลอย่างไร

เมื่อคุณได้พาน้องแมวไปตรวจและพบว่าเป็นโรคไต แนวทางในการดูแล คือ การเฝ้าระวังพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดและทำตามวิธีดังต่อไปนี้

  • พาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการรับน้ำเกลือใต้ผิวหนังและการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
  • ถ้าต้องมีการกินยา เจ้าของควรป้อนยาให้ตรงตามเวลาที่สัตวแพทย์สั่ง
  • ดูแลทำความสะอาดทั้งภาชนะใส่น้ำและอาหารอยู่เสมอ
  • การให้อาหารในแต่ละครั้งควรให้ในปริมาณที่น้อย เพื่อทำให้ระบบย่อยทำงานง่ายขึ้นและไตไม่ทำงานหนักจนเกินไป
  • งดการให้ขนมแมวเลียและขนมขบเคี้ยวทุกชนิด
  • ถ้าต้องการให้แมวเบื่ออาหารรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น ให้คุณเลือกเป็นอาหารเปียกสูตรแมวโรคไตแล้วนำไปอุ่น เพื่อให้กลิ่นหอมชวนน่ากินมากขึ้น
  • ถ้าแมวไม่ยอมกินน้ำด้วยตัวเอง ให้คุณใช้ไซริงค์เพื่อป้อนน้ำให้แมวเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวัน
  • การป้อนน้ำให้แมวในแต่ละวันควรวัดตามน้ำหนักตัว ซึ่งแมวที่มีน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะต้องได้รับน้ำประมาณ 40-50 มิลลิลิตรต่อวัน
  • เลือกให้อาหารสำหรับแมวเป็นโรคไตโดยเฉพาะ
  • จัดพื้นที่นอนที่มีความเงียบสงบ แยกออกจากแมวตัวอื่น เพื่อลดความตึงเครียด
  • เพิ่มของเล่นหรือพื้นที่ออกกำลังกาย พร้อมกระตุ้นให้แมวรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ
  • พบสัตวแพทย์ให้ตรงตามนัดทุกครั้ง
  • จดบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับแมว เพื่อนำไปบอกต่อสัตวแพทย์เมื่อถึงกำหนดเวลานัด

อาหารที่เหมาะสำหรับแมวที่เป็นโรคไต เป็นอาหารแบบไหน ให้อาหารอะไรได้บ้าง

หนึ่งในเรื่องสำคัญของการดูแลแมวเป็นโรคไตที่เจ้าของไม่ควรมองข้าม คือ เรื่องการให้อาหารที่จะช่วยให้ปัญหาโรคไตลดต่ำลง พร้อมช่วยฟื้นฟูให้ไตของน้องแมวกลับมาสมบูรณ์แบบอีกครั้ง ซึ่งอาหารที่เหมาะต่อแมวเป็นโรคไต คือ

1.อาหารแมวเป็นโรคไต

อาหารสำหรับแมวป่วยเป็นโรคไตที่มาในรูปแบบของอาหารสำเร็จรูป มีทั้งอาหารเปียกและอาหารเม็ดที่ถูกทำมาอย่างเหมาะสม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและฟื้นฟูการทำงานของระบบไต รักษาสมดุลของภาวะอิเล็กโทรไลต์ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้เป็นอย่างดี สำหรับอาหารเปียกควรเลือกสูตรที่มีเนื้อข้นและเหลว เพื่อทำให้แมวที่เบื่ออาหารกลืนง่ายขึ้นและช่วยลดการทำงานของไตลง ถ้าแมวกินอาหารเองไม่ได้ก็สามารถใช้ไซริงค์ดูดอาหารเพื่อป้อนได้ง่ายมากขึ้น สำหรับอาหารเม็ดจะมีสูตรคล้ายคลึงกับอาหารเปียก แต่จะเหมาะสำหรับแมวที่ชอบการกินอาหารเม็ดมากกว่า โดยที่เม็ดจะไม่แข็งมากเกินไปและย่อยสลายได้ง่าย ที่สำคัญคืออาหารเหล่านี้จะถูกควบคุมรสชาติและปริมาณของโซเดียม ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อไตของแมว คุณจึงสามารถซื้อให้แมวกินได้อย่างสบายใจ

2.อาหารทำเอง

ถ้าคุณมีเวลามากพอและต้องการเตรียมอาหารให้กับน้องแมวด้วยตัวเอง ต้องเน้นหลักโภชนาการที่เหมาะสมต่อแมวเป็นโรคไต โดยจะต้องมีสารอาหารครบถ้วนทั้งแร่ธาตุ วิตามิน และพลังงาน เน้นเป็นโปรตีน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, ไฟเบอร์ไขมันดี และโอเมก้า 3 พร้อมการจำกัดให้อาหารแต่ละมื้อมีสารอาหารต่าง ๆ ที่พอเหมาะ เพื่อไม่ทำให้เกิดการคั่งค้างของเสียภายในไตมากเกินไป อาหารที่เหมาะสมต่อแมวเป็นโรคไต คือ ข้าวสวย, ไข่ขาวต้ม, ขนมปังขาว, ตับไก่สุก, เนื้อไก่ส่วนอกต้มสุก, เกลือไอโอดีน และน้ำมันพืช เป็นต้น

สิ่งที่ควรป้องกัน เพื่อไม่ให้แมวเป็นโรคไต

ถ้าคุณไม่อยากให้น้องแมวที่บ้านต้องเสี่ยงต่อภาวะโรคไต ที่อาจจะทำให้รู้สึกทุกข์ทรมานและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว คุณควรป้องกันไว้ก่อนด้วยวิธีดูแลดังนี้

1.จำกัดอาหาร

การจำกัดเรื่องอาหารถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการป้องกันแมวเป็นโรคไต คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มหรือโซเดียมสูงและลดอาหารที่มีไขมันมากจนเกินไป ควรเลือกเป็นอาหารสาย Organic เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต ที่สำคัญคือการให้อาหารแมวในแต่ละครั้ง ควรให้ในปริมาณที่น้อยแต่อาจจะบ่อยครั้ง เพื่อช่วยลดการทำงานของไต

2.พาแมวออกกำลังกาย

สำหรับแมวที่มีอายุมากแล้ว คุณควรสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้แมวได้รู้สึกตื่นเต้นและอยากออกกำลังกายให้มากขึ้น เช่น การซื้อของเล่นหรือเครื่องออกกำลังกายสำหรับแมวโดยเฉพาะ เพื่อทำให้แมวได้รู้ถึงสัญชาตญาณของตัวเองและมีจินตนาการในการออกล่า ได้ใช้พลังงานตามปกติ จึงทำให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงาน พร้อมกระตุ้นให้อวัยวะภายในสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.กระตุ้นให้กินน้ำมากขึ้น

น้ำเปล่าสะอาดมีความสำคัญต่อแมวเป็นอย่างมาก ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าแมวของตัวเองกินน้ำน้อยมากต่อวัน ควรกระตุ้นให้กินน้ำบ่อยครั้ง ด้วยการทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำหรือการใช้ไซริงค์ป้อนน้ำสะอาดไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อเป็นการจูงใจให้แมวเคยชินต่อการกินน้ำมากขึ้น

4.เลี้ยงระบบปิด

การเลี้ยงระบบปิดจะช่วยลดโอกาสของการ ติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคอื่น ๆ ที่แมวอาจจะได้รับมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารพิษที่เป็นอันตรายต่อแมว ที่สำคัญคือแม้จะเลี้ยงระบบปิด คุณควรทำความสะอาดพื้นที่ของแมวและส่วนต่าง ๆ ของบ้านด้วยน้ำยาจากสารสกัดสมุนไพร เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างที่แมวอาจได้รับจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจนกลายเป็นโรคไตได้ง่ายอีกด้วย

ถ้าคุณต้องการให้น้องแมวมีอายุยืนยาวและอยู่เป็นสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักของคุณได้นานมากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงต่อภาวะไตวายเฉียบพลันหรือไตวายเรื้อรังให้คุณรู้สึกกังวลใจ คุณควรดูแลน้องแมวและให้อาหารย่างถูกต้องตามที่ได้แนะนำไว้ เพียงเท่านี้น้องแมวของคุณจะมีสุขภาพที่ดี สดใสร่าเริง และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขไปพร้อมกับคุณในทุก ๆ วัน

ที่คนค้นหาเกี่ยวกับเนื้อหานี้ :

แชทถามเรื่องอาหารแมว
คลิกที่นี่เพื่อ แอดไลน์มาได้เลย แอด Line คลิก